วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศึกษาเรื่อง scope ตอนที่ 1 : ส่วนต่างๆ ของ scope

ภาพจาก: wikipedia.org

scope หรือกล้องติดปืน ตอนที่ 1 ว่ากันด้วยเรื่อง
  1. ตัวเลขบน scope บอกอะไร
  2. การปรับกำลังขยาย (Magnification Power)
  3. ศูนย์เล็ง (Reticle)
  4. การปรับโฟกัส
  5. พาราลแล็กซ์ (Parallax) คร่าวๆ
  6. การเลือก scope



4x32 บอกอะไร

สมมติเขาบอกว่า 4x32
ตัวเลข 4 หมายถึง กำลังขยาย 4 เท่า กล่าวคือ วัตถุที่มองผ่านกล้องจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 4 เท่าจากของจริง ผลคือทำให้เรามองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลออกไปได้ชัดขึ้น 4 เท่านั่นเอง

การมีกำลังขยายมาก หมายถึงทำให้เรามีพื้นที่ที่มองผ่าน scope น้อยลง กล่าวคือ ถ้ามีกำลังขยายมากเกินไป เราอาจมองเห็นมดใต่บนใบหญ้า แต่อาจไม่รู้ว่าใบไหนเพราะมันเหมือนกันหมด

ภาพโดย: อิสระพงษ์ สิทธิพล

อีกทั้งกำลังขยายยิ่งมาก จะทำให้แสงที่ผ่านกล้องจะน้อยลงเรื่อยๆ ผกผันตามกำลังขยาย อาจแก้ได้โดยเลือกกล้องที่มีหน้าเลนส์กว้างขึ้น หรือกล้องที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น แต่จะมีข้อเสียคือยิ่งใหญ่จะติดตั้งยากขึ้น

เลนส์ทุกๆ อันใน scope จะทำให้แสงหายไปเล็กน้อย จำนวนเลนส์ยิ่งมาก แสงก็หายมาก ยิ่งกำลังขยายมากหรือมีสารฉาบผิวเลนส์มาก ก็จะมองเห็นวัตถุมืดลง

ตัวเลข 32 หมายถึง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์วัตถุ หน่วยเป็น มิลลิเมตร (มม.) ยิ่งใหญ่ แสงที่ผ่านยิ่งมาก จำเป็นสำหรับกำลังขยายสูงๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว เช่น 4x32 จะสว่างกว่า 10x40 แม้ 10x40 จะมีหน้าเลนส์กว้างกว่า แต่กำลังขยายสูงกว่ามาก ทำให้แสงถูกลดทอนลงไปเยอะ

การเลือกกำลังขยาย

3-6 = สำหรับล่าสัตว์ และการยิงทั่วไป
สูงกว่านั้นสำหรับการยิงระยะไกล เขาว่า 20x เอาไว้ยิงเป้ากระดาษที่ไม่เคลื่อนไหว เพราะกำลังขยายสูงๆ แค่ขยับมือนิดเดียวเป้าหายไปเลยก็มี ต้องเล็งใหม่



เรื่องการติดตั้งก็ต้องคำนึงถึงเช่นกัน อยากได้สว่างมาก เลือกใหญ่มาก ก็ติดตั้งยาก ดังภาพด้านล่าง
ภาพจาก: http://www.pyramydair.com

กระบอกบนหน้าเลนส์วัตถุเป็น 40mm ด้านล่างเป็น 50mm

แบบปรับกำลังขยายได้
บางครั้งเราอาจเห็นตัวเลข 4-12x32 หมายถึงกล้องอันนี้สามารถปรับกำลังขยายได้ตั้งแต่ 4 เท่าถึง 12 เท่า โดยมีหน้าเลนส์กว้าง 32mm
ภาพจาก: http://www.pyramydair.com

กล้องแบบนี้มีประโยชน์กว่า คือ สามารถเลือกระยะยิงได้หลากหลายกว่า

ศูนย์เล็ง
ปกติเป็นแบบสองเส้นตัดกัน หรือ crosshairs ซึ่งมีเส้นแนวตั้งตัดกับเส้นแนวนอน นานมาแล้วศูนย์เล็งใช้ใยไหมหรือบางทีใช้ใยแมงมุม แต่ปัจจุบันพัฒนามาใช้เส้นใยโลหะหรือการขีดเส้นลงบนกระจกหรือเลนส์ ในกล้องนั้น ศูนย์เล็งบางรุ่นจะอยู่กับที่ คือตรงกลางเสมอ บางรุ่นติดอยู่กับเลนส์บางตัว เลื่อนเลนส์ ศูนย์ก็เลื่อน นักยิงส่วนใหญ่เลือกแบบคงที่ เพราะปรับง่ายกว่า

ภาพจาก: http://www.pyramydair.com

ศูนย์เล็งมีหลายแบบให้เลือกมากมาย แต่มีไม่กี่แบบที่เป็นที่นิยม ซึ่งจะเป็น crosshairs มีให้เลือกว่าเส้นหนาเส้นบางไม่เท่ากัน ถ้าใช้ในสนาม หรือเป้ากระดาษเส้นยิ่งบางยิ่งดี แต่ถ้าใช้จริงเขาบอกให้เลือกเส้นหนาพอ ที่จะสามารถมองเห็นได้ในที่แสงน้อย (แสงน้อยๆ หาเส้นไม่เจอ) แต่บางยี่ห้อมีไฟ (ต้องใส่ถ่าน)
ภาพจาก: http://www.shooting.com.au

จากภาพจะเห็นตัวอย่างศูนย์เล็งหลายแบบ ซึ่งในความเป็นจริงมีมากกว่านี้นะครับ ศูนย์เล็งบางแบบมีเส้น หรือขีดวัดระยะ ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยวัด 2 หน่วยคือ MIL หรือ mils (milli radians) หรือมุมในหน่วยเรเดี้ยน และ MOA (Minute of Arc) หรือมุมในหน่วยองศา ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อวัดระยะความไกลของเป้า โดยหลักการกล่าวสรุปได้ว่า ความยาวของเส้นรัศมี(ของวงกลม)เปลี่ยน ความสูงหรือความยาวของเส้นรอบวงเปลี่ยน แต่มุมไม่เปลี่ยน ส่วนใหญ่นิยม mils (หรือ mil-dot) แต่ก็ขึ้นกับความคุ้นเคยในการใช้งาน (จะอธิบายอย่างละเดียดในอนาคต) เส้นหรือขีดวัดระยะมีหลายแบบ เช่น แบบขีดเป็นช่องเท่าๆ กัน หรือจะเป็นแบบเส้นพาลาโบลา แบบกล้อง SVD ของรัสเซีย เป็นต้น การวัดระยะได้ทำให้ตั้งศูนย์เล็งได้แม่นยำขึ้น ส่วนความเร็วก็ขึ้นกับความคุ้นเคยในการใช้งานในแต่ละแบบ

การตั้งโฟกัส
การตั้งโฟกัสในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการปรับภาพของวัตถุให้ชัด แต่หมายถึงการปรับภาพของศูนย์เล็งให้คมชัด การปรับนั้นควรทำครั้งนึงในระยะเวลาสั้นๆ เพราะสมองเราจะปรับสายตาให้คมชัดเองซึ่งไม่ถูกต้อง เราต้องรีบเล็งรับปรับ อย่ามองแช่ไว้นาน บางรุ่นมีตัวปรับสายตา (+/-) ไว้สำหรับคนสายตาสั้น/ยาว ให้ด้วย ปกติปืนใช้คนเดียว ถ้าหลายมือก็หาสีมาทำเครื่องหมายไว้หลังจากปรับเสร็จแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการเริ่มใช้งานในครั้งต่อไป ไม่ต้องเสียเวลาปรับใหม่ ดังภาพด้านล่าง เขาทำจุดขาวๆ ไว้ที่ปรับสายตา กันเลื่อนแล้วต้องปรับใหม่

ภาพจาก: http://www.pyramydair.com

พาราลแล็กซ์ (Parallax)
    เป็นที่ถกเถียงกันบ่อยเวลาพูดคุยเรื่อง scope  เป็นเรื่องไม่ยากนะครับแต่ค่อนข้างซับซ้อน เพราะเกี่ยวข้องกับตัวเลขทางคณิตศาสตร์มากมาย แต่พอเข้าใจแล้วจะว่าง่ายก็ง่ายครับ ปกติค่านี้มันเป็นค่าที่เราไม่อยากให้มี เขาเรียก parallax error เราต้องปรับเพื่อขจัดความคาดเคลื่อนนี้ออกไป

การมองเห็นภาพที่เกิด parallax error นั้น เกิดจากการที่ระนาบของเป้า เลนส์วัตถุ และศูนย์เล็งไม่เป็นระนาบเดียวกัน  ซึ่งจะมีลักษณะประมาณดังภาพด้านล่าง หรือไม่ก็มองเห็นศูนย์ปกติ เป้าปกติแต่ยิงไม่โดน ปรับยังไงก็เพี้ยน แสดงว่ากล้องเรามี parallax error กล้องบางรุ่นมีตัวปรับแก้ parallax มาให้ หรือบางทีก็เรียก AO (Adjustable Objective) คือตัวปรับเลนส์วัตถุด้านหน้า เพื่อแก้ให้เป็นระนาบเดียวกันกับศูนย์เล็ง

สิ่งสำคัญอีกประการเกี่ยวกับเรื่องนี้คือการวางตำแหน่งของตา กับเลนส์ตา ระหว่างเล็ง การวางตำแหน่งตาไม่ตรงก็มีผลกับ parallax เช่นกันครับ เรื่อง parallax error และการปรับแก้ จะกล่าวอย่างละเอียดอีกครั้งในอนาคต

ภาพจาก: http://trinity-tangodown.blogspot.com


ref:
[1]http://en.wikipedia.org/wiki/Telescopic_sight
[2]http://www.pyramydair.com/article/All_about_scopes_Part_1_January_2005/19
[3]http://trinity-tangodown.blogspot.com

10 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุงที่ให้ความรู้ครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ..สำหรับความรู้ครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณครับ..สำหรับความรู้ครับ

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. ได้ความรู้ทำให้ตัดสินใจในการใช้ได้ตรงตามความต้องขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณครับที่ช่วยแนะนำ

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณคับ ช่วยมือใหม่อย่างผมได้เยอะกำลังยากซื้อพอดี

    ตอบลบ
  8. ผมอ่านเเล้วหลับ555

    ตอบลบ