วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ว่ากันด้วยเรื่อง .22lr


ภาพจาก : www.wikipedia.org

.22lr อ่านว่า twenty two L R หรือภาษาไทยเรียกว่า จุดสองสองแอลอาร์ คือ ลูกกระสุนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง .22 หน่วยเป็นนิ้ว ส่วน lr ย่อมาจาก Long Rifle หรือปืนยาว แบบชนวนกระสุนมี 2 แบบ คือ Rimfire (ชนวนริม) และ Centerfire (ชนวนกลาง) .22lr เป็นแบบชนวนริม (ไม่มีจอกกระทบแตก)
ภาพจาก : www.ebay.co.uk


กระสุน .22lr พัฒนาโดย J. Stevens Arms & Tool Co. ในปี ค.ศ. 1887 ( พ.ศ. 2430 ) ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกระสุนชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากทั่วโลก ซึ่งมีออกมาหลายแบบ ดังนี้

  • jacketed hollow point  ดังภาพด้านล่าง (นิยมย่อด้วย JHP ที่กล่องกระสุน) jacketed หมายถึงมีวัสดุหุ้มหัวกระสุนปกติมักเป็นทองแดงหุ้มตะกั่ว มีวัสดุอื่นๆ อีกเช่น teflon (ที่เคลือบกระทะนั่นแหละ), hollow point หมายถึงหัวกระสุนมีรูตรงกลาง (ไว้ค่อยอธิบายอีกทีเรื่องชนิดหัวกระสุนแบบต่างๆ)
ภาพจาก : www.dailymail.co.uk

  • hollow point คือ มีรูอย่างเดียว ไม่หุ้ม รูที่หัวทำให้เกิดการสะสมอากาศก่อนกระทบกับเป้า ทำให้เกิดแรงปะทะสูงขึ้น อำนาจการทะลุทะลวงจะน้อยลง
ภาพจาก : http://www.unexplainable.net

  • solid point หรือ lead round nose (นิยมย่อ LRN) แบบปกติ เป็นหัวเกลี้ยงๆ ไม่มีรู ตะกั่วล้วนๆ กระสุนหัวมนๆ แบบนี้แหวกอากาศได้ดีกว่า HP ดังนั้นแรงปะทะจะน้อยกว่า แต่อำนาจการทะลุทะลวงจะมากกว่า
ภาพจาก : http://www.unexplainable.net
  • jacketed solid point คือ หัวตะกั่วมนเกลี้ยง หุ้มด้วยวัสดุอื่น เช่น ทองแดง
ภาพจาก : http://www.jfkassassinationforum.com

  • small shot shell คือ ลูกปราย (อย่างเขียนผิดเป็น ลูกปลายนะ) ดังภาพด้านล่าง
ภาพจาก : Ranie D (flickr.com)

น้ำหนักกระสุนมีตั้งแต่ 20 ถึง 60 เกรนส์ (1 grain ประมาณ 60 mg) .22lr ยังมีชนิดแปลกๆ อีกด้วย เช่น
  • กระสุนแบบ subsonic หรือชนิดที่ความเร็วต่ำกว่าเสียง น้ำหนักกระสุน ตั้งแต่ 46-61 เกรนส์ เป็นกระสุนความเร็วต่ำ
  • standard velocity มีความเร็วกระสุน 1,125 ft/s (343 m/s) น้ำหนักกระสุน 40 เกรนส์ ปกติเป็น RN
  • high velocity มีความเร็วกระสุน ตั้งแต่ 1,200 ft/s (370 m/s) to 1,300 ft/s (400 m/s) น้ำหนักกระสุน 40 เกรนส์ ปกติเป็น RN หรือ 36 เกรนส์ HP
  • hyper velocity มีความเร็วกระสุน ตั้งแต่ 1,400 ft/s (430 m/s) to 1,800 ft/s (550 m/s) น้ำหนัก 30-32 เกรนส์
(RN=Round Nose, HP=Hollow Point)
คือ แบ่งกันที่ความเร็วเสียงครับ ปกติเสียงมีความเร็ว 343.2 m/s ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ถ้า 25 องศาเซลเซียสก็ประมาณ 346 m/s สรุป ความเร็วเสียงสัมพันธ์กับอุณหภูมิในอากาศดัง chart ด้านล่าง


ถ้าอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส (ไทยกลางแจ้ง) ความเร็วเสียงเท่ากับ 349.11 m/s ตามการคำนวณตาม link นี้


กระสุนที่ผลิตออกมาจะมีความเร็วที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับชนิดของดินปืน น้ำหนักหัวกระสุน แบบของหัวกระสุน เป็นต้น การเลือกใช้ขึ้นกับสถานการณ์ครับ เช่น ปกติจะเลือก subsonic สำหรับล่าสัตว์เพราะเสียงไม่ดัง สัตว์ไม่ทันตกใจ การยิงก็ต้องอาศัยทักษะในเล็งเนื่องจากวิถีกระสุนค่อนข้างโค้งเป็น projectile ส่วนกระสุน standard velocity จะมีความเร็วกระสุนใกล้เคียงกับความเร็วเสียง ในไทยใช้กระสุนนี้กันเยอะเหมือนกัน ร้อนๆ หน่อย (30 องศา=349.11 m/s) ก็ความเร็วจะต่ำกว่าเสียงเล็กน้อยครับ (343 m/s) จึงไม่เป็นปัญหาของเสียงกระสุนที่แหวกอากาศทำให้(สัตว์)ตกใจ

high velocity ใช้ดินปืนแบบ smokeless powder หรือดินควันน้อยมีประสิทธิภาพดีกว่า black powder หรือดินดำ (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://sittinfo.blogspot.com/2011/12/blog-post.html) ซึ่งเมื่อบรรจุในปริมาณที่เท่ากันจะทำให้มีแรงระเบิดหรือแรงส่งกระสุนมากกว่า กระสุนชนิดนี้ยังคงใช้หัวกระสุนน้ำหนัก 40 เกรนส์ RN หรือถ้าเป็นหัว HP ก็จะลดน้ำหนักลงมาที่ 36 เกรนส์

สุดท้ายคือ hyper velocity เราจะไม่เห็นหัวกระสุนที่มีน้ำหนัก 40 เกรนส์ในกระสุนประเภทนี้ เพราะต้องลดน้ำหนักลงที่ 30 ถึง 32 เกรนส์ เพื่อความเร็วของกระสุนที่เพิ่มขึ้น

CCI Stinger เป็นเจ้าแรกที่ผลิต .22lr hyper velocity ออกมา และเนื่องจากว่าต้องการแรงส่งกระสุนมาก จึงต้องเพิ่มที่เก็บดินปืนมากขึ้น ขนาดปลอกกระสุนจึงยาวกว่าแบบอื่นเล็กน้อย แต่ขนาดหัวกระสุนเล็กลงทำให้ขนาดกระสุนทั้งลูกเท่ากันกับแบบอื่นๆ เปรียบเทียบได้ดังภาพด้านล่าง

ภาพจาก : www.wikipedia.org

.22 Long Rifle – Subsonic Hollow point (ซ้าย). Standard Velocity (กลาง), Hyper-Velocity "CCI Stinger" Hollow point (ขวา)

ปกติดินปืนที่บรรจุใน .22lr แต่ละแบบจะสามารถใช้กับปืนยาวที่มีลำกล้องยาวได้สูงสุด 19 นิ้ว แต่สำหรับ hyper velocity สามารถใช้ได้กับลำกล้องยาวถึง 26 นิ้ว

ภาพจาก : www.wikipedia.org


คนทั่วไปมักคิดว่า .22lr ไม่ค่อยน่ากลัว เนื่องจากมีขนาดเล็ก แต่ความจริงแล้วมันขึ้นกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ด้วย เช่น ระยะยิง, ตำแหน่งของเป้า, ชนิดกระสุน, ชนิดปืน, ทักษะคนยิง ฯลฯ


คำศัพท์จากบทความ
cartridge = กระสุน(ทั้งลูก คือรวมปลอกด้วย)
bullet = หัวกระสุน
velocity = ความเร็ว
barrel = ลำกล้อง
rimfire = ชนวนริม
centerfire = ชนวนกลาง
primer = จอกกระทบแตก

references:
http://goawaygarage.blogspot.com/2010/09/22lrlong-rifle.html
http://en.wikipedia.org/wiki/.22_Long_Rifle
http://sittinfo.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

5 ความคิดเห็น:

  1. ความรู้ล้วนๆ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. .22 lr อยากทราบ จุดตัด 2 จุดจากปากลํากล้องครับของกระสุนครับ และระยะกระสุนเหินขึ้นสูงสุดครับ ผมหาอ่านข้อมูล หายังไงก็ไม่เจอครับ จะได้เซทซีโร่ได้เข้ากับขีปนวิธแล้วยิงคํานวณ ค่า MOA ในแต่ละระยะได้ใกล้เคียงครับ

    ตอบลบ
  3. ระหว่าง40เกรนกับ60เกรนอันไหนแรงกว่ากันคับ

    ตอบลบ